Isopropyl alcohol หรือที่เรารู้จักกันในชื่อสั้นๆว่า IPA เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเครื่อง 3D printer แบบ SLA/DLP ที่ใช้วัสดุแบบน้ำยาเรซิ่น โดย IPA ช่วยล้างคราบเรซิ่นได้ดี แต่มีกลิ่นแรง และ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ รวมถึงความ ไวไฟ ที่ต้องจัดเก็บดูแลอย่างระมัดระวัง
การล้างชิ้นงาน ด้วย IPA นั้น มีผลต่อคุณภาพงานทั้งภายในและภายนอก เช่นในรูปด้านบน ที่ทดสอบโดยทาง Ameralabs (https://ameralabs.com/blog/can-ipa-cause-cracks-sla-3d-prints/) แสดงให้เห็นว่า IPA สามารถทำให้ชิ้นงาน 3D print แบบเรซิ่นนั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ในด้านความแข็งแรง และ รูปลักษณ์ภายนอก ยิ่งแช่ไว้นาน จะยิ่งเป็นผลลบ การล้างชิ้นงานด้วย IPA โดยหลักการจริงๆแล้ว เพียงแค่ต้องการเอาคราบเรซิ่นที่คงเป็นของเหลว ให้หลุดออกไปจากผิวงานที่แข็งตัวแล้ว การจะแช่ไว้ใน IPA นานไปจะกลายเป็นการทำลายโครงสร้างของเรซิ่นให้เปราะ หมดความแข็งแรงแทน
คำถามต่อมา เรามีตัวเลือกอื่นอีกไหม ที่ใช้แทน IPA ได้ ถ้าไปอ่านตามกลุ่มหรือดูแชลแนลใน youtube จะเห็นว่า มีหลายคนพยายามทดสอบกับน้ำยาล้างชนิดต่างๆ ตั้งแต่ น้ำยาล้างจาน ล้างพื้น ล้างห้องน้ำ ล้างอื่นๆ มาเทสดู บางอันก็ดูเหมือนจะใช้งานได้ดี แต่ก็เหมือนจะไม่ได้เป็นทุกกรณี ในตลาดตอนนี้ จึงเริ่มเห็นบางผู้ผลิต ทำน้ำยาล้างเรซิ่นสำหรับ SLA/DLP 3D printer ออกมา และ ทางดีดีดี โซลูชั่น ก็ได้ UV Resin Cleaner จากผู้ผลิตในจีน มาทดลองกัน
UV Resin Cleaner จะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้พอสมควร (ราคาขายในไทยอยู่ที่ 200บาท ขวด 250ml) โดยการใช้งาน คือเทผสมลงไปกับน้ำธรรมดา ในอัตราส่วน 1:10-15 นั้นหมายถึงจะได้น้ำยาล้างเรซิ่นปริมาณประมาณที่ 250ml + (250ml x 15) = 4,000ml หรือ 4ลิตร หรือตกที่ลิตรละ 50บาท
ตามเอกสารที่ทางผู้ผลิตให้มา ระบุไว้ว่า UV Resin Cleaner ที่ถูกใช้ล้างเรซิ่นไปแล้ว เมื่อถูกปล่อยไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง เศษเรซิ่นจะรวมตัวที่ใต้ภาชนะ สามารถกรองน้ำยาล้างแยกออกจากเศษเรซิ่นได้โดยง่าย และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งจะต่างกับ IPA ที่เมื่อเปื้อนเรซิ่นผสมลงไปแล้ว ยากมากที่จะกรองแยกออกจากกัน
เวลาล้างจะมีฟองคล้ายๆสบู่เลื่อนๆ
หนึ่งขวด Resin UV Cleaner จะผสมน้ำล้างได้ประมาณนี้
ในการทดสอบในครั้งนี้ จะใช้เรซิ่น RESIONE M70 Precision ที่มีสีออกคล้ายๆสีเนื้อปลาแซลม่อน salmon color โดยจะปริ๊นสองงาน แบบเดียวกัน โดยชิ้นแรก จะล้างใน IPA 99% แบบขั้นตอนทั่วไป และ ชิ้นที่สอง จะใช้ UV Resin Cleaner ในการทำความสะอาด ในขั้นตอนล้างนี้ จะใช้ระบบมือแปรงทั้งสองกรณี
* Credit 3D โมเดล Thailand Buddha จาก https://www.thingiverse.com/thing:2156108
ล้างด้วย IPA และใช้แปรงขัด เพียงแค่ล้างครั้งแรก ก็รู้สึกได้เลยว่า คราบเรซิ่นหายไปเกือบหมด ดูสะอาดอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องแช่นานแต่อย่างใด
ล้างด้วย UV Resin Cleaner เหมือนใช้น้ำผสมสบู่ เพราะฟองมีเยอะทีเดียว ต้องล้างหลายรอบ รู้สึกได้ว่า สะอาดสู้ IPA ไม่ได้ อาจจะด้วย น้ำยาไม่ได้ระเหยเร็วเหมือน IPA ทำให้คราบบางส่วน ยังติดอยู่บนชิ้นงาน ใช้เวลาทำความสะอาดนานกว่า IPA พอสมควร เพราะแปรงถูไปหลายรอบ หลายน้ำ ดูจะเหมาะกับระบบแมนวล มากกว่าจะใช้กับเครื่องล้างอัตโนมัติ
ล้างน้ำแรก แล้วก็ใช้ผ้าเช็ดชิ้นงาน จะเห็นได้ว่า ชิ้นงานที่ใช้ UV Resin Cleaner จะยังเห็นคราบเรซิ่นติดอยู่บนผิวงาน แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด ก็คือ สีของชิ้นงานที่แตกต่างกัน โดยงานที่ใช้ IPA ล้างจะเห็นได้ว่า สีอ่อนลง เมื่อเทียบกับสีของเรซิ่น M70 ที่ใช้ ส่วนชิ้นงานที่ล้างด้วย UV Resin Cleaner สีจะเข้มกว่า
ล้างด้วย IPA
ล้างด้วย UV Resin Cleaner
ล้างด้วย UV Resin Cleaner
ล้างด้วย IPA
ซ้ายล้างด้วย IPA ขวา ล้างด้วย UV Resin Cleaner
เทียบกับเรซิ่นที่คล้าย EnvisionTec RC90 อันนี้ จะล้างด้วย IPA หรือ UV Resin Cleaner สีไม่แตกต่างกัน
สรุป UV Cleaner Resin สามารถล้างงานเรซิ่นได้โอเค แต่ถ้าเทียบกับ IPA ต้องล้างหลายรอบกว่า และ ในร่อง เล็กๆ คราบเรซิ่นยากที่จะเอาออก การใช้งาน UV Cleaner Resin ถ้าจะให้ดีสุด คือ ใช้เป็นน้ำแรก สำหรับล้างงาน ที่เพิ่งแกะออกจากเครื่อง 3D printer ก่อนที่จะนำไปล้างน้ำสองกับ IPA วิธีนี้จะประหยัดและใช้เวลาในการล้างงานเท่าเดิม แต่ใครอยากประหยัดไปให้สุด ก็ใช้ UV Cleaner Resin อย่างเดียว อาจจะใช้เวลาในการเช็ดล้าง แต่ถ้างานไม่ได้มีความซับซ้อนมาก การล้างด้วย UV Cleaner Resin ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ยากเช่นกัน
ท่านใดสนใจอยากสั่งซื้อ สามารถสั่งได้จากเว็บ Shopee ที่ลิงค์นี้เลยครับ
https://shopee.co.th/dddsolutionthailand หรือ ทักมาสั่งได้ที่
ไลน์ไอดี ddd-solution